กยท.หนุนงานวิจัยภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินผสมน้ำยางสร้างบ้านคว้ารางวัล


นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านอุตสาหกรรมและผลิตยาง เปิดเผยว่า กยท.จัดกิจกรรมโครงการประกวดกรอบแนวคิดวิจัยด้านยางพารา เพื่อสร้างงานวิจัยต่อยอดเชิงพาณิชย์ ทำให้ได้เห็นการนำยางพาราไปใช้หลากหลายรูปแบบจากภาคประชาชน โดย กยท.มอบเงินรางวัลเป็นกำลังใจต่อยอดผลงาน ให้แต่ละชิ้นงานรวม 270,000 บาท มีทั้งหมด 25 รางวัล

นายประชุม คำพุฒ วิศวกรก่อสร้างและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ผู้ได้รับรางวัลระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการร่วมประดิษฐ์อิฐดินดิบที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม กล่าวว่า ตนและทีมงานมองว่าที่ผ่านมามีการนำคุณสมบัติข้อดีของน้ำยางไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง จึงเกิดความคิดว่า น่าจะนำน้ำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น สร้างบ้านดิน นอกจากเพิ่มมูลค่าให้ยางพาราแล้ว ยังส่งเสริมสนับสนุนผู้ปลูกบ้านดินให้คงอยู่ต่อไป และช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

"บ้านดินมีอยู่มากแถบภาคกลางฝั่งตะวันตก แต่มีข้อกำจัดเวลาฝนตกมากๆ บ้านดินจะถูกกัดเซาะง่ายต้องซ่อมแซมบ่อย ทำให้ปลวกกิน เกิดเชื้อราได้ง่าย ผมและทีมงานจึงมีแนวคิดที่จะนำน้ำยางมาใช้แก้ปัญหา ดังกล่าว โดยใช้ส่วนผสมในอัตราส่วน แห่งประเทศไทย (กยท.) ด้านอุตสาหกรรมและผลิตยาง เปิดเผยว่า กยท.จัดกิจกรรมโครงการประกวดกรอบแนวคิดวิจัยด้านยางพารา เพื่อสร้างงานวิจัยต่อยอดเชิงพาณิชย์ ทำให้ได้เห็นการนำยางพาราไปใช้หลากหลายรูปแบบจากภาคประชาชน โดย กยท.มอบเงินรางวัลเป็นกำลังใจต่อยอดผลงาน ให้แต่ละชิ้นงานรวม 270,000 บาท มีทั้งหมด 25 รางวัล

นายประชุม คำพุฒ วิศวกรก่อสร้างและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ผู้ได้รับรางวัลระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการร่วมประดิษฐ์อิฐดินดิบที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนผสม กล่าวว่า ตนและทีมงานมองว่าที่ผ่านมามีการนำคุณสมบัติข้อดีของน้ำยางไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง จึงเกิดความคิดว่า น่าจะนำน้ำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างระดับภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น สร้างบ้านดิน นอกจากเพิ่มมูลค่าให้ยางพาราแล้ว ยังส่งเสริมสนับสนุนผู้ปลูกบ้านดินให้คงอยู่ต่อไป และช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

"บ้านดินมีอยู่มากแถบภาคกลางฝั่งตะวันตก แต่มีข้อกำจัดเวลาฝนตกมากๆ บ้านดินจะถูกกัดเซาะง่ายต้องซ่อมแซมบ่อย ทำให้ปลวกกิน เกิดเชื้อราได้ง่าย ผมและทีมงานจึงมีแนวคิดที่จะนำน้ำยางมาใช้แก้ปัญหา ดังกล่าว โดยใช้ส่วนผสมในอัตราส่วน น้ำยางพาราสด 10% ต่อ 1 ชิ้นงาน เพื่อผลิตอิฐดินดิบในการก่อสร้างบ้านดินหรือผสมในดินฉาบ อาศัยคุณสมบัติเด่นด้านการทึบน้ำของน้ำยางพารา" นายประชุมกล่าว

สำหรับผลการทดสอบพบว่า อิฐดินดิบ ที่ผสมน้ำยางพารา ช่วยทำให้บ้านทนการกัดเซาะและชะล้างสูงมากเทียบเท่าปูนซีเมนต์ น้ำยางสดทำให้เกิดปฏิกิริยามีฟิล์มบางๆ มาเคลือบพื้นผิว ปลวกไม่สามารถกัดกินได้ ไม่เกิดเชื้อรา นอกจากนี้ ยังพัฒนาต่อยอดนำข้อดีของน้ำยางพารามาเป็นส่วนผสมใส่เครื่องอัด อิฐบล็อก เกิดเป็นแผ่นผนังดินอัด สีสันสวยงาม เป็นฉนวนกันความร้อน และได้จุดเด่นสูงสุดที่ทนการชะล้างเป็นอย่างดี ที่สำคัญราคาถูกกว่าก้อนดินแบบเดิมตอบสนองความต้องการของชุมชน เฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจท่องเที่ยวและผู้มีรายได้น้อย

"ปัจจุบันมีการนำแผ่นผนังดินอัดสำเร็จรูปไปสร้างเป็นรีสอร์ท บ้านพักใน จ.ราชบุรี รวมทั้งอาคารพาณิชย์ หมู่บ้านจัดสรร โดยนวัตกรรมชิ้นนี้จดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว ผู้ใดสนใจติดต่อได้ที่ มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี ถ.รังสิตนครนายก ต.รังสิต อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทรศัพท์ 08-1665-4755 หรือที่สถาบัน วิจัยยาง กยท. โทรศัพท์ 0-2579-1576" นายประชุมกล่าว

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/nnd/3022926


















05/08/2019