ITC ทำการไต่สวนชั้นที่สุดในกรณีหนังยางจากประเทศไทย


วอชิงตันคณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ หรือ U.S. International Trade Commission ลงคะแนน 5 ต่อ 0 เสียงในผลการไต่สวนชั้นที่สุด (final determination) ว่าด้วยความเสียหายอย่างสำคัญต่ออุตสาหกรรมหนังยางในประเทศเนื่องจากการนำเข้าจากประเทศไทย

การลงคะแนนเสียงครั้งนี้เกิดประมาณ 15 เดือน ภายหลังจากที่บริษัท Alliance Rubber Co. ที่ตั้งอยู่ที่เมือง Hot Springs รัฐอาร์คันซอส ยื่นฟ้องต่อ ITC เรื่องการสนับสนุนการนำเข้าหนังยางจากประเทศจีน ประเทศไทย และประเทศศรีลังกา ในการออกแถลงข่าวภายหลังการยื่นฟ้องต่อ ITC ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018 คุณ Bonnie Spencer Swayze ประธานของบริษัท Alliance กล่าวว่า “ผู้ผลิตหนังยางจากเอเชียได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลของพวกเขาและลดราคาอย่างเกินจริงเพื่อที่จะขจัดการแข่งขันในอเมริกา”

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2018 ITC ตัดสินใจที่จะยุติการสอบสวนการนำเข้าหนังยางจากประเทศศรีลังกา แต่กล่าวว่าจะยังคงตรวจสอบการนำเข้าจากประเทศจีนและประเทศไทย

ในเดือนกันยายน กระทรวงพาณิชย์ออกภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดขั้นต้นที่ร้อยละ 5.86 ต่อการนำเข้าหนังยางของไทยและยืนตามการตัดสินใจดังกล่าวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2019 ที่กระทรวงได้ผลการไต่สวนชั้นที่สุด ซึ่งได้มีการยกเว้นให้บริษัท Liang Hah Heng International Rubber Co./Hah Shung Heng Co. ที่มีอัตราภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่ร้อยละ 0

เมื่อทำการไต่สวนชั้นที่สุด กระทรวงพาณิชย์ยังได้ออกคำสั่งให้ หน่วยงานศุลกากรและการปกป้องเขตแดน (Customs and Border Protection) เก็บอัตราภาษีที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 5.87

ภาษีที่เก็บจากหนังยางของไทยมีความแตกต่างอย่างมากจากที่เรียกเก็บจากหนังยางที่นำเข้ามาจากประเทศจีน โดยในเดือนกุมภาพันธ์ กระทรวงพาณิชย์ได้ออกภาษีตอบโต้การอุดหนุน (countervailing duties) ชั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 27.27 และภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดชั้นสุดท้ายที่ร้อยละ 125.77 ต่อการนำเข้าหนังยางของประเทศจีน

กระทรวงพาณิชย์ยุติการสืบสวนอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 มีนาคม

 

ที่มา https://www.rubbernews.com/article/20190415/NEWS/190419960/itc-makes-final-determination-in-thailand-rubber-band-case



















26/04/2019