สหภาพแรงงานยางพาราของญี่ปุ่นเรียกร้องการขึ้นค่าแรง


โตเกียว ญี่ปุ่น สมาพันธ์แรงงานยางพาราแห่งญี่ปุ่น หรือ Japan Rubber Workers Union Confederation (JRC) ซึ่งเป็นองค์กรที่รวมสหภาพหลายสหภาพที่ครอบคลุมบริษัทผู้ผลิตยางล้อ ชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนที่เป็นยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางเชิงอุตสาหกรรม และรองเท้า ได้ยื่นข้อเรียกร้องด้านแรงงานประจำปี (spring labor offensive) สำหรับ ค.ศ. 2019 ข้อริเริ่มนี้เน้นที่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงานจำนวนมาก โดย ณ วันที่ 13 มีนาคม มีจำนวน 54 สหภาพ ที่มีความต้องการให้ขึ้นค่าแรงสำหรับปีนี้ โดยมีสหภาพจำนวน 43 แห่ง ที่ต้องการให้ขึ้นค่าแรงเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ 5,747 เยน ($52.21) หรือที่ 1.96% โดยเมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มแรงงานอายุ 35 ปี พบว่ามีความต้องการขึ้นค่าแรงเฉลี่ยที่ 6,248 เยน หรือ 2.21% จาก 33 สหภาพ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ขึ้นโบนัส โดยมีค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักจาก 34 สหภาพ อยู่ที่ประมาณ 1.55 ล้านเยน หรือจ่ายที่ 5.15 เดือน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วไป ตัวเลขจะอยู่ที่ประมาณ 1.17 ล้านเยน หรือจ่าย 4.3 เดือน เมื่อเทียบกับข้อเรียกร้องที่เสนอโดยบริษัทเดียวกันจากปีที่ผ่านมาที่ประกาศเมื่อ 15 มีนาคม ค.ศ. 2018 พบว่า มีข้อเรียกร้องที่มีความต้องการที่มากขึ้นมาจาก 10 ใน 33 บริษัทเป้าหมายในปีนี้ เมื่อดูที่ค่าแรงที่ต้องการให้เพิ่มขึ้นซึ่งบริษัทยางล้อเรียกร้องสำหรับแรงงานอายุ 35 ปี บริษัท Bridgestone Corp. ได้รับข้อเรียกร้องที่ 5,600 เยน; สำหรับบริษัท Sumitomo Rubber Industries Ltd. ตัวเลขอยู่ที่ 4,500 เยน; สำหรับบริษัท Yokohama Rubber Co. Ltd. ตัวเลขอยู่ที่ 5,000 เยน; และสำหรับบริษัท Toyo Tire Corp. อยู่ที่ 5,300 เยน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ตัวเลขเหล่านี้สูงขึ้น 20 เยน สำหรับบริษัท Toyo Tires แต่ลดลง 1,000 เยน สำหรับบริษัท Sumitomo Rubber Industries และสำหรับบริษัท Yokohama Rubber ตัวเลขลดลง 400 เยน ในด้านของข้อเรียกร้องต่อ Bridgestone พบว่าเท่ากับกับปีที่ผ่านมา

ในด้านของเงินโบนัส มีการเรียกร้องสำหรับบริษัท Bridgestone ที่ 1.79 ล้านเยน, สำหรับบริษัท Sumitomo Rubber 1.55 ล้านเยน, สำหรับบริษัท Yokohama Rubber 1.49 ล้านเยน, และสำหรับบริษัท Toyo Tires ที่การจ่าย 4.9 เดือน  

นอกเหนือจากข้อเรียกร้องในเรื่องค่าแรงและโบนัสแล้ว สหภาพต่าง ๆ ยังได้เรียกร้องการเปลี่ยนแปลงอีกจำนวนมาก อาทิ มาตรการในเรื่องการทำงานมากเกินไป การลดชั่วโมงทำงานในภาพรวม และการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่จะนำไปสู่ความสมดุลระหว่างชีวิต-งานอย่างเหมาะสม

 

ที่มา http://www.rubberworld.com/news.asp?id=27924

 



















19/04/2019