คณะกรรมการยางของอินเดียระบุเหตุผลเบื้องหลังราคายางตกต่ำ


คณะกรรมการยางของอินเดียระบุว่า ความต้องการยางทั่วโลกที่ลดลง และการผลิตยางภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคายางตกต่ำ

 

ต่างกับสินค้าโภคภัณฑ์หลายชนิดที่มีปัญหาปะทุขึ้นมา ราคายางธรรมชาติภายในประเทศ (ยางแผ่นรมควัน RSS-4 ) ตกต่ำลง ข้อมูลล่าสุดของคณะกรรมการยางของอินเดียระบุว่า ราคายางตกลงมาอยู่ที่ประมาณ 124 รูปี ต่อ กก. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2018 เมื่อเทียบกับ 159 รูปี เมื่อปีก่อนหน้า

ราคาที่ตกต่ำเป็นที่น่าสนใจ เพราะความต้องการภายในประเทศยังมีค่อนข้างสูงในช่วงเวลาดังกล่าว จากข้อมูลล่าสุด มีการบริโภคยางทั้งหมด 814,060 ตัน ระหว่างเดือนเมษายน ธันวาคม 2017 หรือเพิ่มขึ้น 4.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมยานยนต์บริโภคยางประมาณ 65% เพื่อผลิตยางล้อ ทั้งนี้ โดยรวม ยอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้น 11.28% ระหว่างเดือน ธันวาคม 2017 และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เหตุผลหนึ่งที่ราคายางภายในประเทศตกลง อาจเป็นเพราะราคายางในตลาดโลกตกลงในปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ราคายางในตลาดโลกอยู่ที่ 110 รูปี ต่อ กก. เมื่อเทียบกับ 184 รูปี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่ ราคาในตลาดโลกต่ำกว่าราคาภายในประเทศ โดยมีส่วนต่าง 6-27 รูปี

ระหว่างปลายปี 2016-17 ดูเหมือนว่าราคายางจะสูงขึ้นจากอุปทานตึงตัว จากสถานการณ์น้ำท่วมอย่างต่อเนื่องในไทย เงินเหรียญสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลของประเทศในเอเชีย และความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากจีน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น

ความต้องการที่ลดลงของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรทำให้ราคายางลดลง โดยยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในสหรัฐฯ ลดลง 1.8% ในปี 2017 เมื่อเทียบกับปีก่อน หลังจากเติบโตมาหลายปี ส่วนการจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในสหราชอาณาจักรก็ลดลง 5.7% ในปี 2017 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากการเสียภาษีรถยนต์ดีเซลที่สูงขึ้น ซึ่งเกิดจากความกังวลด้านมลภาวะ

มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับยางล้อจากจีนโดยสหรัฐฯ และอินเดีย ก็กระทบต่อการผลิตในจีน

อย่างไรก็ตาม ราคาในตลาดโลกที่ลดลงไม่เพิ่มการนำเข้าในอินเดีย เพราะหากเป็นเช่นนั้น จะกระทบต่อชาวสวนยาง

จากข้อมูลล่าสุด การนำเข้าทั้งหมดระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2017 อยู่ที่ 333,301 ตัน เทียบกับ 360,924 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หรือลดลง 7.6%

การนำเข้าที่ลดลงเป็นเพราะข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับการนำเข้ายางธรรมชาติ ตั้งแต่ต้นปี 2016 เป็นต้นมา โดยกำหนดให้ยางธรรมชาติต้องนำเข้าผ่านทางท่าเรือสองแห่งเท่านั้น คือ Chennai และ Jawaharlal Nehru (เมืองมุมไบ) ซึ่งทำให้เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและทำให้เกิดความล่าช้าสำหรับอุตสาหกรรมผู้ใช้ที่อาจไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ท่าเรือทั้งสองแห่ง

จากอากรนำเข้ายางธรรมชาติ 25% ส่วนต่างระหว่างราคายางภายในประเทศและในตลาดโลกไม่มากพอที่จะทำให้การนำเข้าดึงดูดใจ จากราคาที่ต่างกัน 4-20% จะทำให้การนำเข้าแพงยิ่งขึ้น

การผลิตภายในประเทศที่สูงขึ้น ก็ทำให้ราคาภายในประเทศตก

ผลผลิตทั้งหมดในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 2017-18 เพิ่มขึ้น 4.4% เป็น 524,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งช่วยรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นโดยไม่นำไปสู่ราคาที่สูงมาก

จากข้อมูลล่าสุดขององค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (International Rubber Study Group) ในเดือนธันวาคม 2017 ความต้องการยางธรรมชาติของโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2.4% จากปี 2017 เป็น 13.34 ล้านตันในปี 2018 ซึ่งค่อนข้างจะเหมือนกับการที่ราคาเพิ่มขึ้นในปี 2017

จากราคายางในตลาดโลกที่ยังไม่สูงขึ้น ซึ่งเกิดจากอุปทานส่วนเกิน ผู้ผลิตรายสำคัญ เช่น ไทย กำลังใช้มาตรการลดอุปทานในตลาดโลกเพื่อทำให้ราคาสูงขึ้น โดยมีแผนที่จะลดอุปทานต่อปีถึง 1 ล้านตันเป็น 3.3 ล้านตัน ภายในปี 2018 นอกจากนี้ ทั้งไทย อินโดนีเซียและมาเลเซีย ผู้ผลิตยางธรรมชาติสามรายใหญ่ที่สุดในโลก ได้ตกลงที่จะลดการส่งออกยางในช่วงสามเดือนแรกของปี 2018 และอาจดำเนินการเช่นเดียวกันในไตรมาสต่อๆ ไป หากราคายังไม่สูงขึ้นเท่าที่ควร

การดำเนินการดังกล่าวอาจทำให้ราคาในตลาดโลกสูงขึ้นในอีกสองสามเดือนข้างหน้า

ในขณะเดียวกัน ความต้องการยางธรรมชาติจากผู้บริโภครายใหญ่คือจีนอาจลดลง การที่สหรัฐฯ เสนอจะขึ้นภาษีสำหรับสินค้านำเข้าหลายชนิดจากจีน รวมทั้งยางล้อ อาจลดการผลิตในจีน

ดังนั้น ถึงแม้ราคายางธรรมชาติจะสูงขึ้น จากอุปทานยางที่ลดลง แต่อาจไม่สูงขึ้นอย่างฮวบฮาบ

ที่มา: https://globalrubbermarkets.com/121315/whats-behind-the-fall-in-rubber-prices.html 


















25/05/2018