ยางแท่ง


    เนื่องด้วยยางแผ่นมีการจัดชั้นด้วยสายตาซึ่งให้ผลที่ไม่แน่นอน ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมยางส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
จึงเริ่มเปลี่ยนมาใช้ยางแท่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์แทน เนื่องจากยางแท่งมีคุณภาพสม่ำเสมอกว่ายางแผ่น
ผ่านการทดสอบเพื่อจัดชั้นคุณภาพตามหลักวิชาการ โดยพิจารณาจากปริมาณของสิ่งสกปรกที่มีอยู่ในยางเป็นสำคัญ
นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาตัวแปรอื่นร่วมด้วย เช่น ปริมาณเถ้า (ash content) ดัชนีความอ่อนตัว (plasticity retention
index; PRI) ฯลฯ ปัจจุบันประเทศไทยมีมาตรฐานยางแท่งที่เรียกว่า Standard Thai Rubber (STR) (เดิมเรียกว่า
Technically Specified Rubber (TSR)) โดยมีการกำหนดให้ยางแท่ง STR ประกอบด้วยชั้นยาง 8 ชั้น ได้แก่ STR 5L,
STR 5, STR 10, STR 20, STR XL, STR 5CV, STR 10CV, STR 20CV
    ยางแท่งสามารถผลิตได้จากทั้งน้ำยางและยางแห้ง ขึ้นกับเกรดของยางแท่งที่ต้องการผลิต เช่น ถ้าต้องการ
ผลิตยางแท่งเกรด STR XL ซึ่งมีสีจางมากจำเป็นต้องใช้น้ำยางเป็นวัตถุดิบ แต่ถ้าต้องการผลิตยางแท่งเกรด STR 20
ซึ่งเป็นเกรดที่มีสิ่งเจือปนสูงและมีสีเข้มกว่าก็มักจะผลิตจากยางแห้ง
    ยางแท่งสามารถผลิตได้จากทั้งน้ำยางและจากยางแห้ง ดังแสดงในรูปที่ 3 โดยมีหลักการคร่าวๆ คือ เริ่มต้น
นำยางมาทำให้เป็นก้อนเล็กๆ (ถ้าเป็นจากน้ำยางก็ต้องผ่านการจับตัวน้ำยางให้เป็นก้อนยางก่อน) เพื่อให้ง่ายต่อ
การชำระล้างสิ่งสกปรกออกไปและทำให้แห้งในขั้นตอนถัดไป หลังจากอบยางให้แห้งด้วยอากาศร้อนแล้วก็จะนำยางแห้ง
ก้อนเล็กๆ นี้ไปอัดให้เป็นแท่งมาตรฐานขนาด 330x670x170 มิลลิเมตร น้ำหนักประมาณ 33.33 กิโลกรัม

เอกสารแนบ: rubber-2nd_STR_4438_1.pdf

















08/09/2013