ความตกลงเขตการเสรี อาเซียน-เกาหลี


ความตกลงเขตการค้าเสรี  อาเซียน – เกาหลี
(
ASEAN – Republic of Korea Free Trade Agreement: AKFTA )

 

วัตถุประสงค์

เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและเกาหลี ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด

ระยะเวลา

คาดว่าจะเริ่มมีผลบังคับใช้ปลายปี 2551

ขอบเขตของสินค้า

เกาหลี    ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเกือบทุกรายการ
ยกเว้นเพียงสินค้า Exclusion List ซึ่งมีไม่เกิน 3
ไทย        ให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้าเกือบทุกรายการ

ยกเว้นเพียงสินค้า Exclusion List ซึ่งมีไม่เกิน 3%

การลดหย่อนภาษี

 

 

1. สินค้าปกติ (จำนวน 90ของสินค้าทั้งหมด)  แบ่งการลดเป็น 2 ส่วน

- ลดอัตราภาษีเป็น 0 ทันที จำนวน 9,927 รายการ

- ลดอัตราภาษีเป็น 0 ก่อน 1 ม.ค. 2553 จำนวน 475 รายการ

2. สินค้าอ่อนไหว (จำนวน 10ของสินค้าทั้งหมด) แบ่งการลดเป็น 2 ส่วน

- Sensitive Track (ST) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    กลุ่ม 1   ลดภาษีให้เหลือไม่เกิน 20ภายใน 1 ม.ค. 2555

    กลุ่ม 2   ลดภาษีให้เหลือ 0-5% ภายในปี 2559 
-
 Highly Sensitive Track (HST) แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ

    กลุ่ม A   ลดภาษีให้เหลือไม่เกิน 50ภายใน 1 ม.ค. 2559

    กลุ่ม B   ลดภาษีลง 20จากปัจจุบัน ภายใน 1 ม.ค. 2559

    กลุ่ม C   ลดภาษีลง 50จากปัจจุบัน ภายใน 1 ม.ค. 2559

    กลุ่ม D   สินค้าโควตาภาษี

    กลุ่ม E   สินค้าไม่ลดภาษี

(ตารางที่ 1 การลดภาษีสินค้าปกติของเกาหลี  ปี 2007)

(ตารางที่ 2 การลดภาษีสินค้าปกติของไทย ปี 2007)

กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

- กฎทั่วไป

ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไป   
ใช้กับทุกสินค้า

หลักเกณฑ์ว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

1. ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด (Wholly 
    Obtained Goods)  หรือ

2. ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นโดยมิได้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด  โดยมี 
    สัดส่วนของวัตถุดิบที่มีถิ่นกำเนิดภายในกลุ่มประเทศภาคี (อาเซียนและเกาหลี)  
    ไม่น้อยกว่า 40ของราคา F.O.B. หรือ

 

3. ผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจนเกิดการเปลี่ยนแปลงพิกัดศุลกากรในระดับ

4 หลัก

- กฎเฉพาะสินค้า

 

เป็นกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการ หรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป

(ดูกฎแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า 2002) 
(ดูกฎแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า 2007)

การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้FTA อาเซียน-เกาหลี

สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า  (ดูตัวอย่าง Form AK)   ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า

http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=161&ctl=DetailUserContent&mid=683&contentID=313



















16/07/2014