ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย
(Thailand – Australia Free Trade Agreement : TAFTA)
วัตถุประสงค์
|
เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและออสเตรเลีย
ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์
เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรีในที่สุด
|
ระยะเวลา
|
เริ่มมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548
|
ขอบเขตของสินค้า
|
ออสเตรเลียให้สิทธิพิเศษฯ
แก่สินค้าทุกรายการ (6,108 รายการ)
(ดูตารางที่ 1 รายการสินค้าและอัตราภาษี)
ไทยให้สิทธิพิเศษฯ
แก่สินค้าทุกรายการ (5,505 รายการ)
(ดูตารางที่ 2 รายการสินค้าและอัตราภาษี)
|
การลดหย่อนภาษี
|
ออสเตรเลีย
1. ลดเป็น
0
ทันที จำนวน 5,083 รายการ
2
ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 786 รายการ
3. ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน
239 รายการ
ไทย
1.
ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 2,724 รายการ
2.
ลดเป็น 0 ภายในปี 2553 จำนวน 2,411 รายการ
3.
ลดเป็น 0 ภายในปี 2558 จำนวน 313 รายการ
4.
ลดเป็น 0 ภายในปี 2563 จำนวน 53 รายการ และปี 2568 จำนวน
4 รายการ
|
กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
-กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไปใช้กับทุกสินค้า
-กฎเฉพาะสินค้า เป็นกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการ
หรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป
(ดูกฎแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า)
|
ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-ออสเตรเลีย ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป
สินค้าภายใต้ TAFTA จัดอยู่ในกฎนี้ เกณฑ์ที่ใช้มีดังนี้
1. กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด
(Wholly Obtained Goods)
2. การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Chang in Tariff
Classification)
3. กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย /ออสเตรเลีย
(Regional Value Content : RVC) ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40
หรือ ร้อยละ 45 ของราคาสินค้า F.O.B.
สูตร
RVC
= FOB – VNM x 100
FOB
FOB = Free On Board (ราคาสินค้าตาม เอฟโอบี)
VNM = Value of Non-Originating Material (มูลค่าวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อใช้
ผลิตภายในประเทศโดยราคา CIF)
|
การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้
FTA ไทย-ออสเตรเลีย
|
สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น
จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า
(ดูตัวอย่าง Form FTA) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า
|
http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=161&ctl=DetailUserContent&mid=683&contentID=302