ความตกลงเขตการเสรี ไทย-เปรู


ความตกลงเขตการเสรี ไทย-เปรู

ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู 
(Agreement on Closer Economic Partnership between the Government of Thailand and the Government of the Republic of Peru)

 

วัตถุประสงค์

? เพื่อผลักดันการเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างไทย-เปรู

? เพื่อลด/ยกเลิกภาษีศุลกากรและลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีต่อการค้าสินค้า

? เพื่อให้มีการเปิดเสรีการค้าและบริการระหว่างกันมากขึ้น

? เพื่อขยายความร่วมมือในสาขาอื่นๆ รวมทั้งการท่องเที่ยวและการขนส่ง เป็นต้น

ระยะเวลา

ขอบเขตของสินค้า

เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554

?     เปรูให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้า จำนวน 5,259 รายการ

    (ดูรายการสินค้าและอัตราภาษี ตารางที่ 1)

?     ไทยให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้า จำนวน 5,962 รายการ

    (ดูรายการสินค้าและอัตราภาษี ตารางที่ 2)

การลดหย่อนภาษี

เปรู

?     ลดเป็นศูนย์ทันที จำนวน 3,985 รายการ

?     ลดภาษีเป็นศูนย์ภายใน 5 ปี จำนวน 1,274 รายการ

ไทย

?     ลดเป็นศูนย์ทันที จำนวน 3,844 รายการ

?     ลดภาษีเป็นศูนย์ภายใน 5 ปี จำนวน 2,118 รายการ

กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า

(กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า)

เกณฑ์ของสินค้าที่จะได้ถิ่นกำเนิดฯ ภายใต้ความตกลงฯ ไทย-เปรู ได้แก่

?      สินค้าที่ได้มาทั้งหมด หรือ เก็บ หรือรวบรวมในประเทศภาคี (Wholly Produced)

?      สินค้าที่มีวัตถุดิบที่ไม่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าแต่กระบวนการผลิตเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎเฉพาะที่ได้ถิ่นกำเนิดสินค้าตามกฎการเปลี่ยนพิกัดฯ

     -    สินค้าที่วัตถุดิบไม่ได้ถิ่นกำเนิดทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตผ่านการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 2 หลักในประเทศภาคีนั้น (Change in Chapter: CC)

     -    สินค้าที่วัตถุดิบไม่ได้ถิ่นกำเนิดทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตผ่านการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 4 หลักในประเทศภาคีนั้น (Change in Tariff Heading: CTH)

     -    สินค้าที่วัตถุดิบไม่ได้ถิ่นกำเนิดทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตผ่านการเปลี่ยนพิกัดศุลกากรในระดับ 6 หลักในประเทศภาคีนั้น (Change in Tariff Sub Heading: CTSH)

 

?      สินค้ามีสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบการผลิตภายในประเทศไทยหรือเปรู (Regional Value Content: RVC) ไม่น้อยกว่าข้อกำหนดในรายการสินค้า ตามราคาสินค้า FOBและมีกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายในประเทศภาคีนั้น

    (กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า Product Specific Rule)

การขอใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนภาษีภายใต้ความตกลงฯ ไทย-เปรู

สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวจะต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Form TP) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า

ความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู 

เอกสารประกอบความความตกลงเศรษฐกิจไทย เปรู

http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=161&ctl=DetailUserContent&mid=683&contentID=2168



















20/07/2014