ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น


ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย – ญี่ปุ่น

(Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA)

 

วัตถุประสงค์

(ความตกลง JTEPA ภาษาไทย/ อังกฤษ)

เพื่อความร่วมมือในทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและญี่ปุ่น ที่จะขยายการค้าระหว่างกันโดยการปรับลดภาษีให้ต่ำลง และเป็นศูนย์ เพื่อเกิดการค้าอย่างเสรี รวมถึงการอำนวยความสะดวกทางการค้าและความร่วมมือสาขาต่าง ๆ

ระยะเวลา

มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550

ขอบเขตของสินค้า

ญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้า  8,612 รายการ

(ตารางที่ 1 รายการสินค้าและอัตราภาษีที่ลด) หรือ (ดู รายการสินค้าและอัตราภาษีที่ลด ภายใต้ GSP (ช่อง GSP)และอัตราภาษีที่ลดภายใต้ FTA (ช่อง Thailand)เปรียบเทียบอัตราภาษีปกติ (ช่อง WTO))

แล้วเลือกดูรายการสินค้าและอัตราภาษีในเดือนต่างๆ ที่ต้องการ เช่น เลือก คลิก ที่เดือน January 1 ,2011 แล้ว เลือกดูรายการสินค้า

เช่น สัตว์มีชีวิตใน Chapter 1 Live animals และ คลิก ที่ Tariff rate แล้ว เลือกดูรายการสินค้าภายใต้พิกัด HS.Code ที่ต้องการ

ไทยให้สิทธิพิเศษฯ แก่สินค้า 5,495 รายการ

(ตารางที่ 2 รายการสินค้าและอัตราภาษี)

การลดหย่อนภาษี

 

 ญี่ปุ่น

1. ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 7,473 รายการ

2. ลดเป็น 0 ภายใน 3-5 ปี (2553-2555) จำนวน 91 รายการ

3. ลดเป็น 0 ภายใน 7-15 ปี (2557-2565) จำนวน 634 รายการ

4. ลดภาษีไม่เหลือ 0 และสินค้าโควตารวมถึงเจรจาใหม่ จำนวน 414 รายการ

 ไทย

1. ลดเป็น 0 ทันที จำนวน 2,470 รายการ

2. ลดเป็น 0 ภายใน 2-5 ปี (2552-2555) จำนวน 2,040 รายการ

3. ลดเป็น 0 ภายใน 6-10 ปี (2556-2560) จำนวน 877 รายการ

4. ลดภาษีไม่เหลือ 0 และสินค้าโควตารวมถึงเจรจาใหม่ จำนวน 108 รายการ

กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า

-กฎทั่วไป ซึ่งเป็นกฎหลักหรือกฎทั่วไปใช้กับทุกสินค้า

-กฎเฉพาะสินค้า เป็นกฎที่ใช้กับสินค้าเฉพาะรายการ หรือ กฎที่ยกเว้นจากกฎทั่วไป

(ดูกฎแหล่งกำเนิดเฉพาะสินค้า)

 

 

ภายใต้ข้อตกลง FTA ไทย-ญี่ปุ่น ไม่กำหนดให้ใช้กฎทั่วไป

 

สินค้าภายใต้ JTEPA จัดอยู่ในกฎนี้ เกณฑ์ที่ใช้มีดังนี้ 
1. กฎการผลิตหรือการได้มาจากวัตถุดิบในประเทศทั้งหมด
    (Wholly Obtained Goods)

2. การเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Chang in Tariff Classification)   
3. กฎสัดส่วนมูลค่าวัตถุดิบภายในประเทศไทย /ญี่ปุ่น 
   (Qualify Value  Content  : RVC) ซึ่งส่วนใหญ่กำหนดไว้ที่ไม่ต่ำกว่า
   ร้อยละ
40 ของราคาสินค้า F.O.B.
   สูตร              QVC      =      FOB – VNM   x 100

                                                    FOB

   FOB  =  Free On Board (ราคาสินค้าตาม เอฟโอบี)

VNM = Value of Non-Originating Material (มูลค่าวัตถุดิบ ที่นำเข้า
มาเพื่อใช้ ผลิตภายในประเทศ)

การขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีภายใต้ FTA ไทย-ญี่ปุ่น

สินค้าที่กำเนิดหรือผลิตได้ดังกล่าวข้างต้น จะต้องมีหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า

(ดูตัวอย่าง Form JTEPA) ไปแสดงต่อศุลกากรประเทศผู้นำเข้า

http://www.dft.go.th/Default.aspx?tabid=161&ctl=DetailUserContent&mid=683&contentID=308



















21/07/2014