ความรู้

ค้นหาเอกสาร:
Skip Navigation Links.
Collapse <a href="Elibrary.aspx?cid=1" class="Link_Font"><b>แหล่งความรู้</b></a>แหล่งความรู้
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=1115" class="Link_Font">เทคโนโลยี (เดิม)</a>เทคโนโลยี (เดิม)
Collapse <a href="Elibrary.aspx?cid=47" class="Link_Font">Supply Chain (เดิม)</a>Supply Chain (เดิม)
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=48" class="Link_Font">โครงสร้างอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง</a>โครงสร้างอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
Collapse <a href="Elibrary.aspx?cid=49" class="Link_Font">โครงสร้างอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา</a>โครงสร้างอุตสาหกรรมไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=102" class="Link_Font">มาตรการทางการค้า (เดิม)</a>มาตรการทางการค้า (เดิม)
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=103" class="Link_Font">กฎ ระเบียบ และนโยบาย (เดิม)</a>กฎ ระเบียบ และนโยบาย (เดิม)
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=1171" class="Link_Font">เทคโนโลยี</a>เทคโนโลยี
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=1174" class="Link_Font">Supply Chain</a>Supply Chain
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=1194" class="Link_Font">กฎ ระเบียบ และนโยบาย</a>กฎ ระเบียบ และนโยบาย
Expand <a href="Elibrary.aspx?cid=1193" class="Link_Font">มาตรการทางการค้า</a>มาตรการทางการค้า


ชีวมวลอัดเม็ด

ชีวมวลอัดเม็ดถือเป็นพลังงานจากชีวมวลรูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศมีความพยายามที่จะนํามาใช้แทนพลังงานจากปิโตรเลียมมากขึ้น เนื่องจากพลังงานจากปิโตรเลียมมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งพลังงานจากชีวมวลมีข้อดีในด้านการให้พลังงานที่สูง มีการเผาไหม้ที่สะอาด ลดต้นทุนการผลิตและค่าขนส่ง นอกจากนี้ ยังสามารถลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง เพราะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก (green house gas) ที่สำคัญ จากข้อดีดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมในประเทศหันมาใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดมากขึ้น นอกจากนี้ ในต่างประเทศนิยมเชื้อเพลิงประเภทนี้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากได้รับแรงหนุนจากนโยบายของหลายประเทศที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีความต้องการใช้ชีวมวลอัดเม็ดสูงเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย เนื่องจากรัฐบาลกำหนดนโยบายให้โรงไฟฟ้าถ่านหินต้องมีการใช้เชื้อเพลิงพลังงานทดแทนผสมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือ Co-firing ในปี พ.ศ. 2557 มีการส่งออกชีวมวลอัดเม็ดของไทยไปยังเกาหลีใต้ มูลค่าสูงถึง 15.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ