EUDR ใช้จริงอีก 5 เดือน ยางพาราไทยพร้อมแล้ว


เหลือเวลาอีก 5 เดือนก่อนที่กฎหมายห้ามการทำลายป่า หรือ European Union Deforestation-free Regulation (EUDR) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องการจำกัดการทำลายป่าที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะใช้บังคับกับธุรกิจที่กำหนดไว้ในวันที่ 30 ธันวาคม 2567
กฎหมายนี้กำหนดให้ผู้ประกอบการค้าปลีก (Operator) และผู้ค้าผู้นำเข้า (Trader) ของ EU ต้องทำประเมินการนำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์ ผู้ประกอบการที่นำสินค้าเข้ามาในตลาด EU ต้องตรวจสอบห่วงโซ่อุปทานว่า สินค้านั้นไม่ได้ผลิตจากพื้นที่เพิ่งเกิดการทำลายป่าหลังจากปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) เป็นต้นมา
ส่วนผู้ค้าผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบ ที่จะให้ข้อมูลเรื่องห่วงโซ่อุปทานแก่ผู้ประกอบการรายย่อย โดยการผ่านกฎหมายดังกล่าวของสหภาพยุโรป กำหนดสินค้านำร่อง 7 ประเภทสินค้าเกษตร ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เนื้อโค โกโก้ กาแฟ ถั่วลิสง ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ และยังหมายรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากสินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ เช่น เครื่องหนัง น้ำมันพืช ช็อกโกแลต ยางรถยนต์ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ตลาดยุโรปนับเป็นตลาดส่งออกหลักที่มีความสำคัญกับประเทศไทย ถึง 25,887 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนประมาณเกือบ 10% จากภาพรวมการส่งออกของไทย 284,561 ล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น การปรับปรุงกฎระเบียบของอียู จึงส่งผลต่อการส่งออกไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้
สินค้ายางพาราเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ปี 2566 มูลค่า 401 ล้านเหรียญสหรัฐ จากภาพการส่งออกยางพาราทั้งหมด 3,648 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าตลาดยุโรปจะไม่ใช่ตลาดส่งออกหลักของยางพารา เพราะหากกับมูลค่าการส่งออกไปยังตลาดเบอร์หนึ่งอย่างจีน ที่มีมูลค่าถึง 1,411 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ทว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่มาตรการ EUDR ตามกฎของสหภาพยุโรป จะทำให้มูลค่าต่อหน่วยของสินค้ายางพาราเพิ่มสูงขึ้น 
ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ในโอกาสนำคณะเข้าร่วมการประชุม ห่วงโซ่คุณค่าที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า (Deforest-free Value Chains Roundtable) ซึ่งจัดโดยศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (International Trade Centre) องค์การการค้าโลก WTO ว่า ประเทศไทยเตรียมพร้อมด้วยการสร้างห่วงโซ่คุณค่ายางพาราที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
โดย กยท.มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลระบบยางของประเทศอย่างครอบคลุม มาตรการ EUDR ของสหภาพยุโรป ด้วยการจัดทำโปรแกรม Ready for EUDR ขึ้น
โปรแกรมนี้ทำให้แน่ใจว่า วัสดุยางทั้งหมดได้รับการประเมินและจัดหมวดหมู่อย่างละเอียดตามมาตรฐาน EUDR สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการลงทะเบียนอย่างพิถีพิถันของชาวสวนยางพารา แปลงของเกษตรกร และข้อมูลตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ลงในแพลตฟอร์มระดับชาติที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้
แนวทางของเราประกอบด้วยเกณฑ์ที่เข้มงวดในการประเมินและจัดการความเสี่ยงจากการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ เป็นไปตามเป้าหมายที่ กยท.ต้องการผลักดันยาง EUDR ให้ได้ 1 ล้านตันในปีนี้
นอกเหนือจากการควบคุมการแบ่งแยกแล้ว กยท.ยังสนับสนุนทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการอีกด้วย เราจัดหาทรัพยากรและความช่วยเหลือเพื่อให้สามารถผลิตยางที่ได้มาตรฐาน EUDR การสนับสนุนนี้รวมถึงการส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนผ่านการรับรอง เช่น FSC และ PEFC การดำเนินการทดลองเครดิตคาร์บอน และการพัฒนาโมเดลวนเกษตรที่ก้าวหน้า นอกจากนี้ เรายังนำเสนอโครงการริเริ่มโฉนดต้นยางพาราเพื่อส่งเสริมการใช้ที่ดินตามกฎหมายและเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้
ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-1586975?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click


















17/06/2024