ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตพุ่ง 8 เดือน 73 ล้าน ในตลาดมีเหลืออีก 16 ล้านตัน


องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก.ได้รายงานถึงสถานการณ์ตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจของประเทศไทยจากโครงการ T-VER ในรอบ 8 เดือนปีงบประมาณ 2567
ทั้งนี้มีปริมาณการซื้อขาย 442,879 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq) มีมูลค่าการซื้อขาย 73.01ล้านบาท มีราคาเฉลี่ย 164.87 บาทต่อตัน โดยประเภทการซื้อขายส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มชีวมวล ปริมาณซื้อขาย 153,120 ตัน มูลค่า 11.51 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยที่ 75.20 บาทต่อตัน

รองลงมาเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ปริมาณซื้อขาย 112,810 ตันคาร์บอนไดอกไซด์เทียบเท่า มูลค่า 5.63 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 49.93 บาทต่อตัน ป่าไม้ ปริมาณการซื้อขาย 100,401 ตัน มูลค่า 51.20 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยที่ 509.98 บาทต่อตัน และ การจัดการนํ้าเสียอุตสาหกรรม ปริมาณการซื้อขาย 70,500 ตัน มูลค่า 3.70 ล้านบาท ราคาเฉลี่ยที่ 52.48 บาทต่อตัน เป็นต้น

โดยนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน มีปริมาณการซื้อขายสะสมทั้งหมดอยู่ที่ 3,244,863 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 291.38 ล้านบาท

ขณะที่ปริมาณการซื้อขาย ผ่าน Exchange Platform FTIX ปริมาณการซื้อขาย 1,798 ตัน มูลค่าการซื้อขาย 110,304 บาท ราคาเฉลี่ย 61.35 บาทต่อตัน ซึ่งตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา มีปริมาณการซื้อขายสะสมทั้งหมด 13,665 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มูลค่าการซื้อขาย 727,204 บาท

ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตพุ่ง 8 เดือน 73 ล้าน ในตลาดมีเหลืออีก 16 ล้านตัน

อย่างไรก็ตาม การซื้อขายคาร์บอนเครดิต หากเปรียบเทียบปีงบประมาณ 2567 กับปีงบประมาณ 2565-2566 พบว่า ปริมาณการซื้อขายปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 1.18 ล้านตัน มีมูลค่า 128.48 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ย 108.22 บาทต่อตัน ปีงบประมาณ 2566 ปริมาณซื้อขายอยูที่ 845,235 ตัน มีมูลค่า 67.70 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ย 80.10 บาทต่อตัน ขณะที่การซื้อขายช่วง 8 เดือนปีงบประมาณ 2567 ปริมาณการซื้อขายลดลงอยู่ที่ 442,879 ตัน แต่มูลค่าปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 73.01 ล้านบาท เนื่องจากราคาเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 164.87 บาทต่อตัน


รายงานระบุอีกว่า ส่วนการขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจก นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 มีจำนวน 413 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการประเภทพลังงานหมุนเวียน 199 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 10.566 ล้านตัน รองลงมาเป็นโครงการประเภทการเพิ่มประสิทธิภาพ

การผลิตไฟฟ้าและการผลิตคามร้อน 18 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 2.33 ล้านตัน ประเภทการจัดการขยะมูลฝอย 14 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 1.87 ล้านตัน การจัดการนํ้าเสียอุตสาหกรรม 19 โครงการคิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 1.61 ล้านตัน การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ใหม่ 12 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 1.19 ล้านตัน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคาร โรงงานและครัวเรือน 62 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 370,782 ตัน และการลด ดูดซับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และเกษตร 70 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิต 138,158 ตัน เป็นต้น

ขณะที่โครงการได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตแล้วมีจำนวน 166 โครงการ คิดเป็นปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง 18.21 ล้านตัน มีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ถูกชดเชย 1.75 ล้านตัน และมีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่อยู่ในตลาด 16.46 ล้านตัน และมีโครงการที่อยู่ระหว่างรอการรับรองคาร์บอนเครดิต จำนวน 247 โครงการ

สำหรับการขอขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิตจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในช่วงปีงบประมาณ 2567 มีจำนวน 38 โครงการ คิดเป็นปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลด/กักเก็บได้ 1,356,878 ตัน ส่วนใหญ่ เป็นประเภทการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน คิดเป็นปริมาณ 518,203 ตัน รองลงมาเป็นประเภท  ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ปริมาณ 265,119 ตัน ประเภทการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และวัสดุเหลือใช้ ปริมาณ 195,358 ตัน การเกษตร ปริมาณ 188,660 ตัน พลังงานทดแทนจากการจัดการของเสีย ปริมาณ 100,632 ตัน และการพัฒนาพลังงานทดแทน ปริมาณ 88,906 ตัน เป็นต้น

ขณะที่มีโครงการที่ได้รับการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 17 โครงการ คิดเป็นปริมาณ 1,248,846 ตัน ส่วนใหญ่เป็นประเภทการพัฒนาพลังงานทดแทน คิดเป็นปริมาณ 720,342 ตัน รองลงมาเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน คิดเป็นปริมาณ 294,900 ตัน การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และวัสดุเหลือใช้ คิดเป็นปริมาณ 168,398 ตัน พลังงานทดแทนจากการจัดการของเสีย คิดเป็นปริมาณ 49,233 ตัน และการเกษตร คิดเป็นปริมาณ 14,450 เป็นต้น

ที่มา https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/597877


















05/06/2024