ประเทศอินเดียมีขนาดเศรษฐกิจ (GDP) ใหญ่เป็นอันดับ 3
ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 7 ของโลก
ถ้านับแบบ nomial GDP และอินเดียได้ถูกจัดรวมกลุ่มอยู่ใน BRICS
ซึ่งประกอบด้วยบราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia)
อินเดีย (India) จีน (China) แอฟริกาใต้ (South Africa) เป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีการพัฒนาและเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
(Emerging Market) และจาก GDP growth rate อินเดีย ย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2558 อยู่ที่ 6.6%, 5.1%,
6.9%, 7.3%, และ 7.5% ตามลำดับ และจากการคาดการณ์ของ World Bank ปี 2559-60 คาดว่า GDP อินเดีย
จะอยู่ที่ 7.7-8.0%
นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม
แผนงบประมาณ ปี 2558-2559
อินเดียได้ตั้งงบประมาณขาดดุลต่อ GDP ไว้ที่ 3.9% เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจและพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอินเดียกำลังเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้นโยบาย
Make
in India ที่ดึงดูดบริษัททั่วโลกมาลงทุน โดยเน้นต่อยอดในอุตสาหกรรมที่มีโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศสูง
และอุตสาหกรรมท้องถิ่นเดิมที่ยังพอฟื้นตัวได้ โดยอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศอินเดียเป็น
1 ใน 3 ส่วนของภาคธุรกิจสำคัญของอินเดีย ได้แก่ ภาคบริการ
ภาคอุตสาหกรรม และภาคการ เกษตร ซึ่งอุตสาหกรรมยางพาราคาบเกี่ยวระหว่างภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม
(รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นที่มีการใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบประกอบ เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์) ในส่วนของการเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราอินเดียจัดว่าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อับดับที่
5 รองจากไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และ มาเลเซีย ตามลำดับ โดย
80% ของพื้นที่การผลิตอยู่ที่ Kerala และตามด้วย
Tripura