งานวิจัยโครงการ

งานวิจัย และแหล่งที่มา โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยาง และไม้ยางพาราสู่มาตรฐานสากล

แหล่งที่มาของงานวิจัย

สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

www.oie.go.th

เป็นองค์กรชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรม

พันธกิจ/ภารกิจ

1. จัดทำ บูรณาการ ผลักดันนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า และขีดความสามารถในการ
แข่งขันอย่างยั่งยืน
2. จัดทำระบบสารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดสัญญาณเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมที่ ทันสมัยเชื่อถือได้และเชื่อมโยงกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บริการเผยแพร่
3. สร้างความเข้มแข็งในการเป็นองค์กรแห่งความรู้ด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ค่านิยม
จริยธรรมนำคน พัฒนาตนเป็นนิจ
สร้างมิตรร่วมงาน ปฏิบัติการเชิงรุก

อำนาจหน้าที่
1. เสนอแนะนโยบาย แนวทางและมาตรการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมรวมทั้งจัดทำแผนพัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศ
2. เสนอแนะนโยบาย กำหนดท่าทีแนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ รวมทั้งประชุมเจรจากับองค์การ
หรือหน่วยงานต่างประเทศด้านอุตสาหกรรม
3. ศึกษา วิเคราะห์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดนโยบายการวางแผน การพัฒนาอุตสาหกรรมและการ
แก้ปัญหาหรือพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
4. วิเคราะห์ วิจัย คาดการณ์แนวโน้ม และเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
5. ประสาน เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการพัฒนาอุตสาหกรรม
6. กำหนดนโยบายการสำรวจ การเก็บรักษาการใช้ประโยชน์ข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการจัดทำดัชนีอุตสาหกรรม และทำหน้าที่เป็น
ศูนย์สารสนเทศด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม หรือคณะรัฐมนตรี
มอบหมาย

 

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

www.tisi.go.th

วิสัยทัศน์
      
เป็นผู้นำด้านการมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมอย่างยั่งยืน

นโยบาย
      
มุ่งมั่นดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน  

     1.  คุ้มครองผู้บริโภค
  2. รักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
  3. พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก
  4. สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายขจัดปัญหา และอุปสรรคทางการค้าที่เกิดจาก มาตรการด้านมาตรฐาน

อำนาจหน้าที่
สมอ. มีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนแม่บทของกระทรวงอุตสาหกรรม
พันธกิจ

     1.  กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล
  2. กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ
  3. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศ


สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

www.ftpi.or.th

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นสถาบันชั้นนำด้านการจัดการองค์กร ที่ให้บริการปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรม วิจัยพัฒนา รณรงค์ส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขบวนการเพิ่มผลิตภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในระดับสากล ปัจจุบันสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติได้ดำเนินงานมาครบ 18 ปี ด้วยความเชื่ออย่างแรงกล้าที่ว่า “การเพิ่มผลิตภาพอย่างเป็นระบบ จะทำให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” โดยผ่านบริการคุณภาพ 6 ด้าน คือ การให้คำปรึกษา แนะนำ และฝึกอบรม การวิจัยเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ การรณรงค์ส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ การเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ศูนย์ความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพ และการผสานความร่วมมือและแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับเครือข่ายต่างประเทศ

สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ

www.otqa.or.th

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award - TQA) เริ่มต้นตั้งแต่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2539 เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งรางวัลคุณภาพแห่งชาติขึ้นในประเทศไทย และด้วยตระหนักถึงความสำคัญของรางวัลนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจึงได้บรรจุรางวัลคุณภาพแห่งชาติไว้ในแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยมีสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเผยแพร่ สนับสนุน และผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาคการผลิตและการบริการนำเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติไปพัฒนาขีดความสามารถด้านการบริหารจัดการ องค์กรที่มีวิธีปฏิบัติและผลการดำเนินการในระดับมาตรฐานโลกจะได้รับการประกาศเกียรติคุณด้วยรางวัลคุณภาพแห่งชาติ และองค์กรที่ได้รับรางวัลจะนำเสนอวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างให้องค์กรอื่นๆ นำไปประยุกต์ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีการขยายการดำเนินงานไปอย่างกว้างขวางย่อมจะส่งผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้.

รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ถือเป็นรางวัลระดับโลก (World Class) เนื่องจากมีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) ซึ่งเป็นต้นแบบรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกนำไปประยุกต์ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น .



เอกสารประกอบงานวิจัย