วงการยางฟีเวอร์ ปลุกกระแส “ชะลอขายยาง” บูมทั้งประเทศ


มาแล้ว เมกะโปเจ็กต์ ฟีเวอร์ เกษตรกรวงการยางตื่น กยท.เทงบ 800 ล้าน ดัดหลังพ่อค้า กดราคา หวังดูดซับยางออกจากระบบ 2 หมื่นตัน ระบุปีนี้อุตสาหกรรมยางระส่ำ ส่อยางโลกขาดตลาด โรคใบร่วงทุบหด

โครงการชะลอการขายยางเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกรได้รวบรวมยางจากสมาชิก เพื่อเก็บไว้ขายเมื่อมีราคาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและสถาบัน แก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ ซึ่งโครงการนี้นำร่องจากจังหวัดภาคเหนือ

ล่าสุดนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการด้านปฏิบัติการ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วันนี้ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการ กยท.มาประชุมกับเครือข่ายพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางระดับเขตภาคเหนือ ตำบลแม่หละ  อำเภอ ท่าสองยาง จ.ตากจ.ตาก ตัวหนึ่งที่ได้ติดตาม โครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา  ซึ่งในโครงการดังกล่าวมีการชะลอสินค้ายางพารา 3 ตัว 1.น้ำยางสด 2.ยางแผ่นรมควัน 3.ยางก้อนถ้วย

สิ่งหนึ่งต้องขอขอบคุณพี่น้องเกษตรกรทางภาคเหนือได้ได้นำร่องทำต้นแบบก็คือโครงการชะลอการขายยางก้อนถ้วยแห้งที่ดำเนินการมาเข้าเป็นปีที่ 3 แล้ว ซึ่ง กยท.ได้จัดเงินมาให้ ในหลักการก็คือไปซื้อยางก้อนถ้วยมาเก็บไว้ แล้วก็มีการประเมิน DRC 75%  แล้วให้เงินไป 80% ของมูลค่าโดยใช้ราคาของตลาดราคายางเป็นตัวประเมิน ซึ่งวันนี้การที่ทำอย่างนี้ทำให้ราคายางก้อนถ้วยทางภาคเหนือราคาไม่ลง วันไหนราคาลงชาวบ้านไม่พอใจ ก็เข้าโครงการชะลอการขายยาง

“ในส่วนของ กยท. ในฐานะที่ผมกำกับดูแลภูมิภาค ในส่วนของภาคเหนือมีผลผลิต 2 แสนตันต่อปี เราเห็นว่าการชะลอการขายยางก้อนถ้วย ต้องทำให้ได้ประมาณ 20% ก็คือประมาณ 2 หมื่นตันต่อปี เราก็ไปคัดเลือกสถาบันเกษตรกรที่มีความพร้อมในการบริหารจัดการ มีผลการดำเนินกิจการค่อนข้างดี กยท.จะนำงบประมาณไปอุดหนุนในเรื่องการรวบรวมผลผลิต การเก็บรักษายางก้อนถ้วย รวมทั้งเครื่องมือ อาทิ รถโฟล์คลิฟท์ สายพานลำเลียงต่างๆ ให้พร้อมเพรียงกัน วันนี้ผมก็ได้ให้เป็นเชิงนโยบายไปว่า ให้ผอ.เขตไปคัดเลือกสถาบันที่ตัวเองกำกับดูแลเพื่อให้ได้ผลผลิตประมาณ 2 หมื่นตัน เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองแล้ว”

นายสุขทัศน์ กล่าวว่า ตอนนี้ กยท.ก็จัดงบประมาณให้ในช่วงนี้ 164 ล้านบาท สำหรับเกษตรกรภาคเหนือ เก็บยางประมาณ 6,000-7,000 ตัน แต่เป้าหมายของเราไปถึง 2 หมื่นตัน และจะยกระดับการซื้อขายยางก้อนถ้วยที่เข้าโครงการชะลอการขายยางไปดำเนินว่าจ้างโรงงาน ของ กยท. หรือโรงงานของเอกชน ผลิตยาง STR 20 ต่อไปนี้พี่น้องทางเหนือไม่ได้ขายยางก้อนถ้วยอย่างเดียวแล้วจะนำไปสู่การขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นยางแท่ง STR 20”

ในปีนี้บอกได้เลยว่าราคายางแนวโน้มผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ของโลก เพราะวันนี้สิ่งหนึ่งความเสี่ยงในการผลิตยางธรรมชาติก็คือ "โรคระบาดใบร่วง" ชนิดใหม่ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศผู้ที่ผลิต โดยประเทศไทยเป็นล้านไร่ทำให้ผลผลิตของเราหายไป แล้วฤดูทางภาคใต้ก็เปลี่ยน เดือนมกราคมแล้วยังมีฝนตก ปกติไม่มีแล้วแสดงว่าสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนไป ยางก้อนถ้วย ตั้งราคา 40 บาท/กก. ใช้งบ 800 ล้านบาท ก็จะใช้เงินหมุน แล้วก็จะไปทางภาคสานก็จะใช้หลักการเดียวกันชะลอประมาณ 20%

ที่มา https://www.thansettakij.com/business/trade-agriculture/553876


















22/01/2023