หนังสือเขียนถึงบทบาทของยางพาราในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


SILCHAR, อินเดียท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็วของโลก การปลูกต้นยางพารามีบทบาทสำคัญในการลดโลกร้อน ผู้เขียนหนังสือเล่มใหม่นี้ระบุ

หนังสือ Rubber Plantations and Carbon Management มีกำหนดวางแผงเดือนกันยายน จากสำนักพิมพ์ Apple Academic Press ได้มองบทบาทของการปลูกต้นยางพาราในบริบทของการกักเก็บคาร์บอน (carbon sequestration) กระบวนการเก็บคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศและเก็บไว้ ไม่ให้หลุดออกไป

“ผู้เขียนให้ผลการศึกษาเชิงลึกในเรื่องแหล่งเก็บคาร์บอนและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของการปลูกยางพารา” ตามข้อมูลจากการแถลงข่าว

หนังสือ Rubber Plantations and Carbon Management ได้กล่าวถึงการสูญเสียคาร์บอนในชีวมวลผ่านการตัดป่าจนหมด (clear felling) การกักเก็บคาร์บอนของระบบนิเวศ และพลวัตของรากฝอยในสมดุลคาร์บอนภายใต้ระบบการบริการการปลูกยางพารา

หนังสือเล่มนี้ยังประกอบด้วยข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการที่ดีที่สุดสำหรับการขยายพื้นที่ปลูกต้นยางพารา (Hevea tree) ในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม       ทุ่งหญ้า หรือพื้นที่รกร้าง “การพัฒนาการปลูกยางพาราโดยการทดแทนป่าธรรมชาติไม่ควรได้รับการสนับสนุน โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินไปเรื่อย ๆ ... สามารถที่จะเพิ่มสต๊อกของชีวมวลและดินได้” ตามข้อมูลจากการแถลงดังกล่าว

โดยที่ยังไม่มีบทบาทของการปลูกยางพาราในเรื่องการกักเก็บคาร์บอนที่เจาะจง แต่การปลูกยางพาราก็เป็นประโยชน์โดยทั่วไปในพื้นที่นั้นในลักษณะที่เหมือนแต่ยังไม่ดีเท่าป่าธรรมชาติ ตามข้อมูลของ Arun Jyoti Nath ศาสตราจารย์ในคณะนิเวศวิทยาและวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ณ Assam University ในเมือง Silchar

Nath ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนหนังสือ Rubber Plantations and Carbon Management กับเพื่อนร่วมงานที่ Assam University อีก 2 ท่าน คือ Biplab Brahma และ Ashesh Kumar Das

โดยดั้งเดิม ผู้ปลูกจะเปลี่ยนสภาพพื้นที่ป่าธรรมชาติเป็นแปลงปลูกต้น Hevea ที่มีการจัดการโดยบุคคลหรือโดยชุมชน Nath กล่าว

“การแปลงสภาพพื้นที่ดังกล่าวสามารถลดลงได้โดยการส่งเสริมโปรแกรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้และการเสื่อมโทรมของป่าไม้ (Reduced Emissions from Deforestation and Forest Degradation: REDD+)” เขาเขียนตอบอีเมลคำถาม

แรงจูงใจที่เป็นเงินสามารถโน้มน้าวเกษตรกรให้ฟื้นฟูพื้นที่ที่เสื่อมโทรมได้ ตามที่ Nath ระบุ โดยเขากล่าวว่า ในภูฏาน โปรแกรมการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนจะจ่ายเงินประมาณ 49 เหรียญสหรัฐต่อเอเคอร์ให้แก่เกษตรกรที่เปลี่ยนที่ดินเสื่อมโทรมให้ไปเป็นพื้นที่แบบขั้นบันได (terraced dry land)

เนื่องจากราคายางพาราที่ต่ำ ผู้ปลูกยางพาราจำนวนมากเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น ไม้กฤษณา และหมาก ในอินเดีย Nath กล่าว

“การแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากป่าไม้เป็นการปลูกพืชอื่น ๆ เป็นการเร่งการพังทลายและการสูญเสียคาร์บอนที่อยู่ในดิน” เขากล่าว “หากแปลงปลูกยางพาราในปัจจุบันถูกเปลี่ยนไปเป็นการปลูกพืชทำเงินชนิดอื่น ก็จะยิ่งเร่งกระบวนการสูญเสียคาร์บอน”

กลยุทธ์ที่ดีที่สุด ตามที่ Nath กล่าว คือการพัฒนาวนเกษตรยางพารา

“การส่งเสริมระบบวนเกษตรที่หลากหลาย โดยที่ยางพารามีบทบาทสำคัญ แต่ไม่ได้ปลูกเป็นเชิงเดี่ยว อาจจะเป็นประโยชน์มากกว่า”

หนังสือ Rubber Plantations and Carbon Management สามารถสั่งจองล่วงหน้าได้ที่ราคา 112.46 เหรียญสหรัฐ โดยหลังจากการพิมพ์ ราคาจะอยู่ที่ 149.95 เหรียญสหรัฐต่อเล่ม

 

ที่มา https://www.rubbernews.com/suppliers/book-outlines-rubbers-role-climate-change

 



















22/08/2019