ศักยภาพสวนยางกับมาตรฐาน การจัดการคาร์บอน


การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในฐานะองค์กรกลางในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบของไทย จึงให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ผ่าน3โครงการ คือ1.โครงการFSCTM (Forest Stewardship Council)Asia Pacific มีการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการสวนยางที่ดีอย่างยั่งยืน 

ตามมาตรฐานFSCTMเพื่อให้ผู้ปลูกยางมีความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาสวนยางของตนเองให้ได้มาตรฐาน 2.โครงการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยางพาราโดย กยท.ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนมาตรการZero Carbonในภาคการเกษตร พัฒนาสวนยางพาราให้เป็นCarbon Nagativeให้ได้10ล้านไร่ ภายในปี2573และในปี2593 ศักยภาพสวนยางกับมาตรฐาน   การจัดการคาร์บอน

3.โครงการRubberway เป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้ใช้ยางกับประเทศผู้ผลิตยาง ได้รับการสนับสนุนจากผู้ซื้อยางรายใหญ่ของโลก2บริษัท คือ มิชลิน และคอนทิเนนทัล ร่วมวิเคราะห์ความเสี่ยงห่วงโซ่อุปทานยาง และส่งเสริมเกษตรกรทำสวนยางอย่างยั่งยืน ภายใต้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการยืนยันการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ผลการประเมินที่ผ่านมา สวนยางที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับดีเยี่ยม

สำหรับศักยภาพดูซับคาร์บอนของสวนยางพาราประกอบด้วย อายุ 1-5 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1.07 ตันต่อไร่ต่อปีอายุ 6-10 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1.34 ตันต่อไร่ต่อปีอายุ 11-15 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1.21 ตันต่อไร่ต่อปีอายุ 16-20 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 1.08 ตันต่อไร่ต่ออายุ 21-25 ปี สามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 0.96 ตันต่อไร่ต่อปี

ที่มา https://www.bangkokbiznews.com/environment/1041016


















02/12/2022