วัสดุยางที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างง่ายดาย อาจช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์


นักวิจัยจากออสเตรเลียได้พัฒนายางพาราและตัวเร่งปฏิกิริยารูปแบบใหม่ที่สามารถใช้งานได้ภายใต้การใช้พลังงานต่ำ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่ยืดหยุ่น สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ และมีความยั่งยืน ที่จะสามารถใช้งานได้ยาวนานและลดความจำเป็นสำหรับการรีไซเคิล ซึ่งครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์ยางล้อด้วย “การศึกษานี้เผยให้เห็นแนวคิดใหม่ในการซ่อมแซม การยึดเกาะ และการรีไซเคิล ของยางที่ยั่งยืน” รองศาสตราจารย์ Justin Chalker แห่งมหาวิทยาลัย Flinders ในเมือง Adelaide ประเทศออสเตรเลียกล่าว

โพลีเมอร์ยางใหม่นี้ ทำมาจากผลิตภัณฑ์ของเสียจากอุตสาหกรรม เช่น ซัลเฟอร์ น้ำมันคาโนลาสำหรับประกอบอาหาร และ dicyclopentadiene (DCPD) จากการกลั่นปิโตรเลียม วัสดุใหม่นี้สามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างสมบูรณ์และกลับมามีความแข็งแรงเหมือนเดิมได้ภายในไม่กี่นาทีที่อุณหภูมิห้อง – ด้วยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเอมีน (amine) วัสดุใหม่นี้ยังทนทานต่อน้ำและการกัดกร่อนอีกด้วย

ตามข้อมูลของนักวิจัยที่ Flinders ซึ่งทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่ง Western Australia และมหาวิทยาลัยแห่ง Liverpool ประเทศอังกฤษ กล่าวว่า วัสดุยางชนิดใหม่นี้สามารถใช้เป็น สารยึดติดแฝง” (latent adhesive) ได้ด้วย

“ยางตัวนี้จะไม่ เหนียว จนกว่าจะใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเอมีนเข้ามา – มันจะสร้างพันธะกับตัวมันเองเมื่อป้ายตัวเร่งปฏิกิริยาเอมีนลงไปบนพื้นผิว การยึดติดนั้นแข็งแรงกว่ากาวประเภทที่วางขายอยู่หลายชนิด” ดร. Tom Hasell นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่ง Liverpool กล่าว

“มันน่าตื่นเต้นที่เห็นว่าเคมีของวัสดุเหล่านี้สามารถช่วยเรื่องการรีไซเคิล การยึดติดแห่งอนาคต และการผลิตสารตัวเติมได้อย่างไร” รองศาสตราจารย์ Chalker กล่าว

ที่มา http://rubberjournalasia.com/easy-repair-catalyst-rubber-material-may-extend-shelf-life-of-products/



















03/07/2020