นิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ที่จะพัฒนาโดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ประเทศไทย


อินโดนีเซีย มาเลเซีย ประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้นำการผลิตยางพาราธรรมชาติของโลกจะร่วมมือกันพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle: IMT-GT) พื้นที่ 4 แห่ง ซึ่งคือ รัฐเคดาห์ในมาเลเซีย สงขลาในประเทศไทย และเมือง Tanjung Api-Api and และเขตเศรษฐกิจพิเศษ Sei Mangkei  ในอินโดนีเซีย จะร่วมกันกระตุ้นการบริโภคยางพาราผ่านกิจกรรมปลายน้ำและการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม

อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย มีการผลิตยางพาราธรรมชาติรวมคิดเป็น 66% ของการผลิตทั่วโลก โดยในเมษายน 2019 ทั้ง 3 ประเทศตกลงที่จะลดการส่งออกยางพาราธรรมชาติลง 240,000 ตัน เป็นเวลา 4 เดือน

Firdaus Dahlan ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle Sub-regional Cooperation: CIMT) กล่าวว่า ทั้งสามประเทศจำเป็นที่จะต้องสร้างเสถียรภาพของราคายางพาราในตลาดโลก - CIMT จะเริ่มโครงการที่จะให้ภาคเอกชนเป็นผู้นำและมีรัฐบาลเป็นผู้อำนวยความสะดวก ที่จะหาโอกาสในอุตสาหกรรมยางพาราปลายน้ำในภูมิภาค IMT-GT  ป็ฯเวลรส่งออกยางพาราธรรมชาติลง ฯปมาณ

ข้อริเริ่ม IMT-GT ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 ประกอบด้วย 14 จังหวัดในภาคใต้ของไทย 9 รัฐของคาบสมุทรมาเลเซีย และ 10 จังหวัดของสุมาตราในอินโดนีเซีย การประชุมสุดยอดครั้งที่ 12 จัดที่กรุงเทพมหานคร โดยมี Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย Tun Dr. Mahathir Mohamad นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทย Datuk Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน และ Takehiko Nakao ประธาน Asian Development Bank (ADB)

ได้มีการเสนอรายงานการดำเนินการโครงการต่าง ๆ และความก้าวหน้าของกิจกรรมตาม 7 เสาหลักเชิงยุทธศาสตร์สำคัญของ IMT-GT ซึ่งนำไปสู่การประเมินแนวระเบียงเศรษฐกิจในปัจจุบันทั้งห้า และการศึกษาแนวระเบียงเศรษฐกิจที่หกที่เสนอเพิ่มเติม โดยเชื่อมโยงเมืองชายแดน 3 จังหวัดของไทย กับรัฐเประและรัฐกลันตันของมาเลเซีย รวมทั้งจังหวัดสุมาตราใต้ของอินโดนีเซีย เพื่อส่งเสริมการค้า การท่องเที่ยว และเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง IMT-GT ได้ดำเนินโครงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (physical connectivity projects: PCP) ต่าง ๆ มูลค่ารวม 4.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบไปด้วย South Sumatera Light Rail Transit ที่สำเร็จแล้วในเมืองปาเลมบัง โครงการที่ดำเนินการอยู่ อาทิ ศูนย์ Customs, Immigration and Quarantine (CIQ) ในสงขลา และสนามบินเบตงในประเทศไทย และ Dumai-Melaka Ro-Ro Service ระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้า

มีการเสนอการใช้วีซ่าประเภทเข้าออกครั้งเดียว (Single-entry visa) สำหรับพื้นที่ IMT-GT เพื่อส่งเสริมวงจรและเส้นทางการท่องเที่ยวที่มีจุดหมายที่หลากหลายร่วมกันเพื่อเพิ่มการเข้ามาของนักท่องเที่ยวใน 3 ประเทศ

Firdaus ระบุว่า การประชุมสุดยอด IMT-GT ประสบผลสำเร็จ โดยผู้นำจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ต่างให้คำมั่นที่จะเพิ่มพูนการค้า การลงทุน และการเชื่อมโยงภายในอนุภูมิภาค ในขณะเดียวกัน แถลงการณ์ร่วมของผู้นำก็เน้นย้ำถึงความปรารถนาของผู้นำที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ IMT-GT Vision 2036 ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์อาเซียน “ผู้นำตกลงที่จะเสริมความแข็งแกร่งและเร่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อจะบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ควรมีการขยายโอกาสต่าง ๆ ให้มากที่สุดในการเชื่อมโยง การคมนาคมและโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐาน พลังงาน การค้า สิ่งแวดล้อม การลงทุน การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อจะบรรลุซึ่งการเติบโตที่ครอบคลุม เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชน”

 

ที่มา http://rubberjournalasia.com/rubber-city-to-be-developed-by-indonesia-malaysia-thailand/

 



















23/07/2019