นโยบายด้านยางธรรมชาติสร้างความเสียหายแก่ผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย


ผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุดของอินเดีย Harrisons Malayalam (HML) และแปลงปลูกอื่น ๆ ประสบผลขาดทุนจากข้อกำหนดควบคุมการโค่นต้นยางเก่าและยังคงไม่มีมาตรการเกี่ยวกับการปลูกทดแทน บริษัทยางประกาศการสูญเสียกว่า 1,000 ล้านรูปี ในการผลิตยางธรรมชาติกว่า 1,300,000 MT และคิดเป็นวันทำงานของลูกจ้าง 1,000,000 วันทำงาน

พื้นที่ 1,000 เฮกแตร์ ที่มีต้นยาง 250,000 ต้น จากพื้นที่ทั้งหมดของ HML จำนวน 6,000 เฮกแตร์ ถูกทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์และไม่ให้ผลผลิตใด ๆ โดยนาย Venkitaraman Anand ผู้อำนวยการประจำและหัวหน้าฝ่ายบริหารที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่ของ HML กล่าวว่า จากที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เหลือค้างไว้รอการปลูกทดแทนทำให้เกิดการลดลงของการผลิต ผลิตภาพ และโอกาสการจ้างงาน

1 ใน 6 ของสวนยาง หรือต้นยาง 250,000 ต้น ถูกทิ้งไว้โดยไม่ใช้ประโยชน์ ทำให้วงจรการปลูกขาดตอน พื้นที่ร้อยละ 3 – 4 ของพื้นที่ทั้งหมดควรได้รับการปลูกใหม่แล้วเพื่อรักษาให้ผลิตภาพอยู่ในระดับสูง สิ่งเหล่านี้ยังทำให้ความต้องการจ้างงานลดลงอีกด้วย” นาย Venkitaraman Anand กล่าว

ตามที่ศาลฎีกายืนตามคำตัดสินของศาลสูงแห่งรัฐเกรละ ที่จะยกเลิกคำสั่งของเจ้าพนักงานพิเศษที่จะเพิกถอนพื้นที่พื้นที่ปลูกสวนป่าให้กลายเป็นที่ดินของรัฐบาลในเดือนกันยายน 2561 ผลตอบแทนที่ได้จากไม้ยางอยู่ที่ประมาณ 400,000 รูปีต่อเฮกแตร์ ในขณะที่ต้นทุนการปลูกใหม่ทดแทนอยู่ที่ประมาณ 600,000 รูปีต่อเฮกแตร์ ตามที่การปลูกยางมีระยะที่ต้องดูแลถึงประมาณ 6-7 ปี

นอกจากนี้ ราคาที่ตกต่ำลงของยางและไม้ยางทำให้เกิดพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เหลือค้างไว้รอการปลูกทดแทน และมีผลต่ออาชีพที่เชื่อมโยงอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมไม้อัด การตัด การขนย้าย และการขนส่งไม้ ซึ่งอาชีพเหล่านี้พึ่งพาอุปทานของไม้ที่สม่ำเสมอ

ต้นยางถูกมองว่าเป็นสวนป่าเพื่อการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ และจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของมัน รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดควบคุมการโค่นเอาไว้ นอกจากนี้ เมื่อปลายปี 2561 รัฐบาลได้ยกเว้นเงินนำส่งให้แก่รัฐที่ได้จากไม้ยาง

 อินเดียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตยางรายสำคัญ โดยมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 5 ของผลผลิตของโลก โดยในปี 2561 มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า อินเดียผลิตยางธรรมชาติ 6.9 ตัน แต่บริโภคถึง 11.1 ตัน โดยมีการนำเข้าส่วนต่างความต้องการยางดังกล่าว อินเดียเป็นผู้บริโภคยางธรรมชาติที่ใหญ่เป็นที่ 2 รองจากประเทศจีน

ที่มา http://rubberjournalasia.com/nr-policies-take-toll-on-indias-largest-rubber-producer/



















04/02/2019