ส่องทิศทางยางพาราไทย ปี 62 รุ่ง หรือ ร่วง?


เศรษฐกิจไทยปี 2562 มีการคาดการณ์ว่า จะเติบโตประมาณ 3.8% โดยมีปัจจัยภายในเป็นแรงขับเคลื่อน เช่น การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่อง รวมทั้งรายได้ภาคเกษตรที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นในทุกสินค้า อย่างไรก็ดี เมื่อดูความสัมพันธ์ของการบริโภคสินค้าคงทนกับสินเชื่อเช่าซื้อ พบว่าในช่วงของมาตรการรถคันแรก สินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 2.1 แสนล้านบาท แต่มีแนวโน้มที่สินเชื่อรถจะชะลอความร้อนแรงลงในปี 62 ส่วนหนึ่งเพราะมีแรงกดดันจากภาระผ่อนรถที่ขยับสูงขึ้นเป็น 37% ของรายได้ สะท้อนถึงการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องแต่ไม่เป็นอัตราเร่ง

ในปีนี้เริ่มเห็นสัญญาณว่า ภาครัฐ จะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังปี 62 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ EEC ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน จะเกิดขึ้นได้ภายใต้ พ.ร.บ. EEC เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินและศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนของภาคเอกชนคาดเริ่มเห็นการลงทุนของอุตสาหกรรม S-Curve ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในปี 59-60 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หันมาดูทางด้านอุตสาหกรรมยางพาราไทยบ้าง เมื่อช่วงต้นปีนี้ ทางด้าน รมว. เกษตรฯ นายกฤษฎา บุญราช ได้ออกมายืนยันภาพรวมเศรษฐกิจการเกษตรปี 2562 ว่ามีแนวโน้มดีขึ้น ทั้ง ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้คาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2562 ในภาพรวมว่า มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้นในด้านราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา เนื่องจากการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรเพื่อปฏิรูปภาคเกษตรที่มีมาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การปรับระบบการทำงานของข้าราชการร่วมกับเกษตรกรให้มีความสอดคล้องกัน โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ และการส่งเสริมระบบสหกรณ์ให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มบทบาทในการเป็นศูนย์รวบรวมผลผลิตและจำหน่ายให้แก่เอกชน เป็นต้น

ทั้งนี้ ทาง สศก. ยังได้ทำรายงานพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะยางพารา ซึ่งจะพบข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ โดยรับเบอร์พลาสมีเดีย จะขอนำเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อไปนี้

การผลิตยางพาราโลก

การผลิตในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกเพิ่มขึ้นอย่สงต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 77.98 ล้านไร่ในปี 2557 เป็น 89 ล้านไร่ในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับผลผลิตยางพาราของโลก เพิ่มขึ้นจาก 12.14 ล้านตันในปี 2557 เป็น 14.59 ล้านตันในปี 2561 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ4.79 ต่อปี เนื่องจาก ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจอื่น จึงจูงใจให้มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่ม ขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 6-7 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในประเทศผู้ผลิตหลัก ส่งผลให้เนื้อที่เปิดกรีดเพิ่มมากขึ้น

ประเทศผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในปี 2561 มีเนื้อที่ปลูกยางพารารวม 49.87 ล้านไร คิดเป็นร้อยละ 56.03 ของเนื้อที่ปลูกยางพาราของโลกและมีผลผลิตรวม 8.94 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61.27 ของผลผลิตโลก โดยอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเนื้อที่ปลูกยรงพารามากที่สุดในโลก มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่ำงต่อเนื่องร้อยละ 0.55 ต่อปี จำก 22.45 ล้านไร่ในปี 2557 เป็น 22.99 ล้านไร่ในปี 2561 แต่มีผลผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากไทย โดยผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.85 ต่อปีจาก 3.15 ล้านตันในปี 2557 เป็น 3.61 ล้สนตันในปี 2561 สำหรับมาเลเซีย มีเนื้อที่ปลูกเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม โดยมีเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ0.69 ต่อปี จาก 6.54 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 6.77 ล้านไร่ในปี2561 ในขณะที่ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.26 ต่อปี จาก 0.67 ล้านตันในปี 2557 เหลือ 0.56 ล้านตันในปี 2561

ที่มา : http://rubberplasmedia.com



















05/02/2019