รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะแก้ปัญหามลภาวะจากรถยนต์/ยางล้อ


เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาสหราชอาณาจักรได้ออกกลยุทธ์อากาศสะอาดสำหรับปี 2018 (Clean Air Strategy 2018) โดยมีแผนที่จะ พัฒนามาตรฐานใหม่สำหรับยางล้อ/เบรก โดยเน้นการปล่อยฝุ่นละออง (particulate matter หรือ PM) ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร (PM2.5) จากรถยนต์ ทั้งนี้ ในปี 2012 กระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท คาดว่าประมาณ 18% ของการปล่อย PM2.5 มาจากท่อไอเสียรถยนต์ ในขณะที่ 11% มาจากยางล้อและเบรกที่สึกหรอ

ด้วยขนาดที่เล็กมาก การปล่อย PM2.5 จึงสามารถเล็ดลอดผ่านจมูกและลำคอของมนุษย์ ลึกลงไปในปอด และเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคทางเดินหายใจ

ภายในปี 2025 จะมีจำนวนผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการกระจุกตัวของ PM2.5 เกินเพดานที่องค์การอนามัยโลก (World Health Organisation หรือ WHO) กำหนดไว้ที่ 10 ug/m3

กลยุทธ์อากาศสะอาดที่ออกมาใหม่ของกระทรวงสุขภาพและสาธารณสุของอังกฤษ (Department of Health, Public Health England) และกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท (Department for Environment, Food and Rural Affairs หรือ Defra) จะเสนอการออกกฎหมายเพื่อให้รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมบังคับให้ผู้ผลิตต้องเรียกคืนรถยนต์และเครื่องจักรที่มีข้อบกพร่องในส่วนของการควบคุมการปล่อยไอเสีย และกำหนดให้การก้าวก่ายระบบควบคุมการปล่อยไอเสียเป็นความผิดทางกฎหมาย รัฐบาลยังจะทำการวิจัยและพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ สำหรับยางล้อและเบรก เพื่อแก้ปัญหาการปล่อยมลพิษที่ไม่ใช่จากท่อไอเสีย คือ ไมโครพลาสติกจากรถยนต์ ที่สามารถก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศและน้ำ

นอกากนี้ ยังจะเสนอให้ออกกฎหมาย เพื่อให้อำนาจใหม่แก่รัฐบาลท้องถิ่นในการปรับปรุงคุณภาพของอากาศ เพื่อป้องกันไม่ให้  ฝุ่นละอองจำนวน 8,000 ตัน ที่เป็นอันตราย เข้าสู่บรรยากาศในแต่ละปี

ข้อเสนอดังกล่าวเพิ่มมาจากแผนของรัฐบาลมูลค่า 3.5 พันล้านปอนด์เมื่อปีที่แล้ว ที่จะลดมลภาวะทางอากาศจากการขนส่งทางถนนและรถยนต์ที่ใช้ดีเซล

ที่มา: http://rubberjournalasia.com/uk-government-to-tackle-vehicletyre-emissions-in-pollution-focus/


















11/06/2018