ยางเอเซียเติบโตช้าแต่มั่นคงในปี 2017


อุตสาหกรรมยางของเอเซียคุ้นเคยกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ผันผวนและผลลัพธ์ของกลไกการตลาด ปีนี้ ราคายางเริ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกๆ ของปีที่แล้ว โดยได้รับการหนุนจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นและความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคายังมีอยู่ในตลาด เนื่องจากมาตรการขึ้นราคาน้ำมันไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ความตกลงของประเทศสมาชิกผู้ส่งออกน้ำมัน (Organisation of Petroleum Exporting Countries หรือ OPEC) 13 ประเทศที่จะลดการผลิต ทำให้ตอนแรกราคาน้ำมันโลกสูงขึ้นร้อยละ 15 แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังคลางแคลงใจว่า ความตกลงดังกล่าวจะคงอยู่นานเท่าใด เพราะประเทศสมาชิก OPEC บางประเทศ เช่น อิหร่าน อิรัก และซาอุดิ อาระเบีย เดิมปฏิเสธที่จะลดปริมาณการผลิต ความเคลื่อนไหวล่าสุด คือ ราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่า 49 เหรียญสหรัฐฯ/บาเรล ท่ามกลางสต็อกน้ำมันดิบที่มีมากเกินไปของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ผลิตยางในเอเซีย หลังจากได้ผ่านราคายางตกต่ำมาแล้วหลายฤดู สต็อกยางที่มากเกินไป และความต้องการที่ลดลง  อุตสาหกรรมดังกล่าวก็ยังคงมั่นคงภายใต้บรรยากาศอุปสงค์-อุปทานที่ยังเอื้อต่อการเติบโต

การผลิตยางธรรมชาติในเอเซียเท่าที่ผ่านมา มีการขยายตัวดี อย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วเริ่มด้วยการผลิตที่ลดลง จากข้อมูลของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (Association of Natural Rubber Producing Countries หรือ ANRPC) ประกอบด้วยประเทศผู้ผลิตยาง 11 ประเทศ ซึ่งรวมแล้วมีสัดส่วนร้อยละ 90 ของการผลิตยางธรรมชาติทั้งหมดของโลก ตั้งอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ระบุว่า การผลิตยางธรรมชาติทั้งหมดในประเทศ ANRPC ลดลงร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็น 1.7 ล้านตัน ในช่วงสองเดือนแรกของปี ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศ ANRPC ร้อยละ 3.3

ประเทศ ANRPC บริโภคยางธรรมชาติ 1.2 ล้านตัน ในช่วงปีที่รายงานเรื่องดังกล่าว โดยรวม การบริโภคยางธรรมชาติของประเทศผู้ผลิตยางหลักๆ เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความต้องการยังมีมากกว่าผลผลิตในกลุ่มประเทศดังกล่าว

อุทกภัยในภาคใต้ของไทย ซึ่งกล่าวกันว่ารุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี ไม่คาดว่าจะต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมกราคมปีนี้ ซึ่งทำความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน และอุตสาหกรรม และยังกระทบต่อการผลิตยางในภาคใต้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ปลูกยางเกือบสองในสามของไทย

จากข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จังหวัดสงขลากำลังถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางยางชองประเทศ เพราะมีพื้นที่ปลูกยาง และมีตลาดกลางยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ที่หาดใหญ่ ใกล้ชายแดนมาเลเซีย อีกทั้งยังมีศูนย์วิจัยยางมาตรฐานโลกและเป็นที่ตั้งของเมืองยาง (Rubber City) พื้นที่ 197 เฮกตาร์ ซึ่งคาดว่าจะสร้างเสร็จในปีนี้

รายงานของ ANRPC ระบุว่า อุทกภัย และฤดูการผลัดใบในประเทศผู้ผลิตยางต่างๆ ทำให้การผลิตลดลงร้อยละ 13.9 มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่า การผลิตยางธรรมชาติของไทย ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2017 ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตยางมีสัดส่วนร้อยละ 37 ของการผลิตยางทั่วโลก อยู่ที่ 726,000 ตัน ซึ่งต่ำกว่าปริมาณ 843,000 ตัน ที่คาดการณ์ไว้เมื่อปีที่แล้ว สำหรับช่วงเวลาเดียวกัน

ประเทศผู้ผลิตยางที่สำคัญที่เหลือก็มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น ในช่วงเวลาที่ระบุในรายงาน การผลิตของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จาก 505,000 ตันเป็น 527,000 ตัน เวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จาก 140,000 ตันเป็น 151,000 ตัน มาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 จาก 130,000 ตันเป็น 140,000 ตัน และอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 จาก 89,000 ตันเป็น 116,000 ตัน มีเพียงศรีลังกาที่การผลิตลดลง โดยลดลงร้อยละ 29.8 จาก 19,000 ตันในช่วงสองเดิอนแรกของปีที่แล้ว เป็น 13,000 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปีนี้

ในประเทศที่กล่าวถึงในรายงานดังกล่าว ประเทศที่การผลิตยางพุ่งสูง ได้แก่ จีน (ร้อยละ 175) กัมพูชา (ร้อยละ 48) และฟิลิปปินส์ (ร้อยละ 36.7)

ประเทศสมาชิก ANRPC บริโภคยางธรรมชาติมากกว่า 1.2 ล้านตันในช่วงสองเดือนแรกของปี  2017 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยจีนมีการเติบโตร้อยละ 4.9 อินเดียร้อยละ 1.1 ไทยร้อยละ 7.8 และอินโดนีเซียร้อยละ 3.4

ANRPC ระบุว่า เป็นที่น่าประหลาดใจว่า การบริโภคของมาเลเซียลดลงร้อยละ 3.6 ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2017 มาเลเซียเป็นประเทศผู้ผลิตถุงมืออันดับหนึ่งของโลก และจำหน่ายถุงมือประมาณร้อยละ 60 ของความต้องการถุงมือทั้งหมดของโลก และจากข้อมูลของคณะกรรมการยางของมาเลเซีย (Malaysian Rubber Board หรือ MRB) อุตสาหกรรมยางของมาเลเซียมีการส่งออกมูลค่า 8 พันล้านริงกิตระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2016 และผลผลิตถุงมือยางของประเทศระหว่างเดือนมกราคม มีนาคม 2016 มีปริมาณเกือบ 10.6 พันล้านคู่

ขณะเดียวกัน รายงานของ ANRPC ระบุว่า การเบี่ยงเบนด้านนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบันของสหรัฐฯ เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ จะกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตถุงมือและผลิตภัณฑ์จากน้ำยางข้นอื่นๆ ในมาเลเซีย ทั้งนี้ สถานการณ์ดังกล่าวอาจนำไปสู่แนวโน้มของตลาดที่มีผู้ขายมากกว่าผู้ซื้อ ซึ่งอาจเกิดขึ้นชั่วคราว

จากรายงานของ Stratistics MRC บริษัทที่ปรึกษาตั้งอยู่ในสหรัฐฯ เรื่องถุงมือยาง แนวโน้มตลาดโลก 2016-2022 ระบุว่า ตลาดอาจเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีร้อยละ 8.5 ระหว่างปี 2015 – 2022 ซึ่งการเติบโตดังกล่าวจะได้รับการกระตุ้นจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การเกิดของโรคใหม่ๆ ค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการคุกคามทางสุขภาพ การตระหนักเรื่องสุขอนามัยที่เพิ่มขึ้น และกฎระเบียบด้านสุขภาพ

ถึงแม้ปีนี้ดูเหมือนว่าจะเริ่มต้นอย่าเชื่องช้าสำหรับประเทศผู้ผลิตยางในเอเซีย แต่ปี 2017 ที่เหลือทั้งปี มีป้จจัยที่บ่งชี้ไปยังการเติบโตที่สดใส

ปัจจัยอุปทานและอุปสงค์ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ เป็นการเอื้อต่อการเติบโต โดยเฉพาะระหว่างช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม และถึงแม้จะมีความท้าทายเรื่องราคา ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบ ความผันผวนของการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการเก็งกำไร แต่ตลาดก็คาดว่าจะเติบโต

ที่มา: http://rubberjournalasia.com/slow-steady-gain-for-asian-rubber-in-2017/ วันที่ 14 มีนาคม 2017


















21/03/2017