อินเดียใช้ขยะพลาสติกและยาง 50,000 ตัน ปรับพื้นผิวถนน


G. Sudhakaran รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกรมโยธาสาธารณะของรัฐ Kerala (Kerala Public Works Department หรือ KPWD) ในอินเดีย กำลังช่วยเกษตรกรชาวสวนยางและคนงานเก็บกาบมะพร้าว อีกทั้งช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อม ด้วยกลยุทธ์ใหม่ ในการสร้างถนนที่มีความคงทนมากขึ้น โดย KPWD กำหนดให้ใช้ยางมะตอยผสมยาง ที่มีความทนทานต่อน้ำมากกว่ายางมะตอยดั้งเดิม

รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะใช้ยาง 50,000 ตัน เพื่อปรับพื้นผิวถนนในปีนี้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ถนนมีความคงทนแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอีกด้วย

กรมฯ ยังใช้พลาสติกบดย่อยและผสมกับยางมะตอยสำหรับทำถนน เพื่อช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกจำนวนมหาศาล ทั้งนี้ การใช้พลาสติกบดย่อยจะทำให้มีแรงยึดเหนี่ยวมากกว่ายางมะตอยผสมยาง

ขณะนี้ ได้มีการปรับพื้นผิวถนนความยาวสามกิโลเมตรโดยใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ที่เมือง Neyyantinkara และจะนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ของรัฐ Kerala

นอกจากนี้ จะใช้แผ่นใยสังเคราะห์จากกาบมะพร้าวมากยิ่งขึ้น ในบริเวณพื้นที่ต่ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ถนนได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ แผ่นใยสังเคราะห์จากกาบมะพร้าวทำจากเส้นใยของมะพร้าว ที่นิยมนำไปใช้สำหรับการปรับปรุงเสถียรภาพของลาดดิน การควบคุมการกัดเซาะ และวิศวกรรมเชิงชีวภาพ จากความแข็งแรงเชิงกลที่สูง โดยจะรับประกัน 10 ปี นอกจากนี้ ถนนที่ได้รับการพัฒนา ตั้งแต่นี้ต่อไป จะมีทั้งทางเดินเท้า ท่อระบายน้ำและท่อ duct สำหรับวางท่อน้ำและสายเคเบิล ในขณะที่ทางเดินเท้าจะทำให้มีความปลอดภัยต่อผู้ข้ามถนน ท่อ duct จะทำให้ไม่ต้องขุดถนน อีกทั้งจะมีการสร้างทางสำหรับขี่จักรยานทุกที่ที่เป็นไปได้

ที่มา: http://rubberjournalasia.com/kerala-india-used-plastic-waste-50000-tonnes-of-rubber-to-resurface-roads/ วันที่ 9 มกราคม 2017



















11/01/2017